top of page

แนวปฏิบัติและการตีความ TFRS17 สำหรับธุรกิจประกันวินาศภัยไทย ตอนที่ 5


บทที่ 3 – ขอบเขตของสัญญาประกันภัย (Contract boundary)

ใบบทนี้ จะมีประเด็นสำคัญอยู่ 2 เรื่อง คือเรื่องของ Coverage Period

และอีกเรื่องจะเกี่ยวกับ การนับวันที่จะเริ่มคุ้มครองหรือวันที่จะเริ่มคำนวณ



ในเรื่องแรกของบทที่ 3 นี้ จะมีตัวละครที่สำคัญอยู่ 2 ตัว ก็คือ Coverage Term ซึ่งก็หมายถึงระยะเวลาตามสัญญากรมธรรม์ หรือจะเรียกว่า Legal Term ก็ได้ ส่วนอีกตัวก็คือ Coverage Period ซึ่งหมายถึงระยะเวลาตามมาตรฐาน TFRS17 หรือจะเรียกว่า Accounting Term ก็ว่าได้ ใจความสำคัญหลักก็คือการตีความ Coverage Period ออกมานั่นเอง


"โดยในธุรกิจประกันวินาศภัยนั้นอาจจะพบเจอ Coverage Period ที่มากกว่า Coverage Term"

ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าสัญญาของ Engineering คือ 3 ปี (จะมี Coverage Term คือ 3 ปี) แต่ Coverage Period นั้น อาจจะเป็น 5 ปี ก็ได้ (เพราะจะมีอีก 2 ปี ที่ต้องรับผิดชอบเรื่อง Extended Warrantee ตอนท้ายอีก 2 ปี จึงทำให้ Coverage Period นั้นยาวกว่า Coverage Term)


ตัว Coverage Period นี้จะมีผลในการประเมินว่าต้องใช้โมเดลไหนในการคำนวณ

  • ถ้า Coverage Period <= 1 ปี นั้น จะสามารถใช้โมเดลการคำนวณอย่างง่ายได้ (ใน TFRS17 จะเรียกว่า PAA Approach)

  • ถ้า Coverage Period > 1 ปี นั้น จะต้องมีการทำ PAA Eligibility Test อีกทีหนึ่ง ถ้าผ่าน PAA Eligibility Test ได้ ก็จะสามารถใช้โมเดลการคำนวณอย่างง่ายได้ (แต่สูตรก็จะไม่เหมือนกับ PAA Approach ที่ Coverage Period เท่ากับ 1 ปี) แต่ถ้าไม่ผ่าน PAA Eligibility Test แล้วถึงจะหันมาใช้ โมเดลการคำนวณแบบทั่วไป (GMM Approach) โดย fulfillment cash flow (ของวิธี GMM Approach ซึ่งจะอยู่ในบทหลัง) นั้น ก็จะใช้ตาม Coverage Period ไปด้วย


อีกตัวอย่างหนึ่ง ที่เป็นตัวอย่างปกติก็เช่น Single Premium คุ้มครอง 3 ปี นั้น จะมี Coverage Term 3 ปี และ Coverage Period 3 ปี ซึ่งในตัวอย่างนี้ มี Coverage Period > 1 ปี แต่อาจจะผ่าน PAA Eligibility Test และใช้เพียง โมเดลการคำนวณอย่างง่าย (PAA Approach) ก็ได้


มีอีกประเด็นที่น่าสนใจอยู่เรื่องหนึ่งสำหรับบริษัทประกันภัยต่อนั้นก็คือ Coverage Period ของ Risk attaching reinsurance (หรือก็คือ สัญญาประกันภัยต่อ) นั้นส่วนใหญ่จะยาวกว่า Coverage Period ของ สัญญากรมธรรม์ที่รับมาจากบริษัทประกัน เพราะ สัญญาประกันภัยต่อนั้นดูเป็นชุด ๆ แบบ Treaty (ไม่ได้ดูเป็นสัญญากรมธรรม์เหมือนบริษัทประกันภัยทั่วไป)

  • เช่น Treaty ที่ต่ออายุ ปีละครั้ง และ Coverage Period ของกรมธรรม์คือ 3 ปี ก็จะได้ Coverage Period ของ Treaty คือ 3 + 1 = 4 ปี

  • เช่น Treaty ที่ต่ออายุ 2 ปีต่อครั้ง และ Coverage Period ของกรมธรรม์คือ 2 ปี ก็จะได้ Coverage Period ของ Treaty คือ 2 + 2 = 4 ปี



สรุปคือ Treaty ของสัญญาประกันภัยต่อนั้น ไม่ได้ดูทีละกรมธรรม์ มันจะต้องเผื่อเวลาให้มัน Run off ไปด้วย และถ้าต่ออายุ ทุกปี ก็หมายถึง ต้องเผื่อเวลา run off ไป 1 ปี แต่ถ้าต้องต่ออายุทุก 2 ปี ก็หมายถึงว่าต้องเผื่อเวลา Run Off ไป 2 ปี เป็นต้น ดังนั้น บริษัทประกันภัยต่อจึงมีแนวโน้มที่ต้องใช้หลักโมเดลการคำนวณแบบทั่วไป (GMM Approach) เนื่องจาก Coverage Period ที่มากกว่า 1 ปี


ในส่วนสุดท้ายของบทนี้จะเป็นเรื่องของการนับวัน โดยตัวละครในส่วนนี้ก็จะมี “Enter Into Contract” vs “Risk of Contract Incepts” vs “Valuation Date”

  • Enter Into Contract คือ วันที่รับเบี้ยหรือเงินเข้ามา

  • ส่วน Risk of Contract Incepts คือวันที่เริ่มคุ้มครอง (ถ้าเกิดเหตุก่อนวันนี้คือไม่จ่าย)

  • ตัวสุดท้าย Valuation Date ก็คือวันที่ทำการประเมิน


ดังนั้น เงินที่รับมาก่อนวันที่เริ่มคุ้มครอง (Enter Into Contract เกิดขึ้นก่อน Risk of Contract Incepts) จะเรียกว่า Advance Premium ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องปกติที่เคยอยู่ในหลักการเดิม ก่อนที่จะมาอยู่ใน TFRS17 เพียงแต่หลักการเดิมนั้นจะถือเป็นหนี้สินอื่น ส่วน TFRS17 นี้จะถือว่าอยู่ในส่วนหนี้สินจากการประกันภัยเลย (ทำให้มีความต่างจากเมื่อก่อนที่เมื่อก่อนนั้นจะให้ถือว่าอยู่ใน Accounting Item จำพวก Prepaid Premium)


ตัวอย่างเพิ่มเติมที่มีการตีความและเห็นได้อยู่ทั่วไปก็คือ

  • Enter Into Contract ที่อยู่วันเดียวกับ Risk of Contract incepts ก็คือ การจ่ายเบี้ยแล้วคุ้มครองเลย

  • Valuation Date อยู่หลัง วัน Risk of Contract Incepts นั้น ก็จะเริ่ม คำนวณ UPR จากวัน Risk of Contract Incepts

  • พวกคุ้มครองก่อน แล้วเงินสดเก็บตามมาทีหลัง (อันนี้ จะถือว่า Risk of Contract Incepts อยู่ก่อน Enter Into Contract พวกนี้ก็จะเรียกคล้ายหลักการสมัยก่อน คือจะเรียกว่า Due Premium ก็ได้)


สรุปได้ว่า บทนี้จะกล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับระยะเวลาและการนับวันเป็นหลัก โดยส่วนที่สำคัญที่จะมีผลกับบทหลัง ๆ นั้นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการตีความ Coverage Period ที่จะมีผลกับการเลือกใช้โมเดลการคำนวณและมีผลต่อการรายงานงบการเงิน ซึ่งจะกล่าวในบทที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยเฉพาะในภายหลัง

 

เขียนโดย อาจารย์ทอมมี่ (พิเชฐ)

FSA, FIA, FRM, FSAT, MBA, MScFE (Hons), B.Eng (Hons)


ขอสงวนสิทธิ์ของเนื้อหาในบทความ ไม่ให้นำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ ในเชิงพาณิชย์ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากทางบริษัท ABS เท่านั้น

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Comments


แองเคอ 1
แองเคอ 2
แองเคอ 3
bottom of page