top of page

เนื้อหาบางส่วนจากการสัมมนาพิจารณ์ ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17


เนื้อหาบางส่วนจากการสัมมนาพิจารณ์ ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17

การสัมมนาพิจารณ์ ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย ซึ่งในการสัมมนาที่ผ่านมาได้มีการพูดถึงหัวข้อต่างๆ กว่า 20 หัวข้อซึ่งแสดงอยู่ในตารางด้านล่าง


เนื้อหาบางส่วนจากการสัมมนาพิจารณ์ ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 (1)

โดยเราขอหยิบเนื้อหาบางส่วนที่น่าสนใจ คือ 1. ภาพรวมมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย (หัวข้อ 1 – 5) 2. การแสดงรายการในงบการเงิน (หัวข้อ 16) และ 3. แนวทางถือปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลง (หัวข้อ 19) ซึ่งถ้าหากผู้อ่านต้องการศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมก็สามารถดาวน์โหลดไฟล์ซึ่งตามลิงก์แนบไว้ด้านล่างของบทความ


1. ภาพรวมมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย


ภาพรวม


บทนำ 1 ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัยกำหนดหลักการสำหรับการรับรู้รายการการวัดมูลค่าการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลของสัญญาประกันภัยที่ออกและกำหนดให้ใช้หลักการเดียวกันมาถือปฏิบัติสำหรับสัญญาประกันภัยต่อที่ถือไว้และสัญญาลงทุนที่มีลักษณะร่วมรับผลประโยชน์ตามดุลยพินิจที่ออกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่ากิจการให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอสัญญาเหล่านั้นอย่างเที่ยงธรรม ข้อมูลนี้ให้พื้นฐานสำหรับผู้ใช้งบการเงินเพื่อประเมินผลกระทบที่เกิดจากสัญญาที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย ที่มีต่อฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานการเงิน และกระแสเงินสดของกิจการ

บทนำ 2 ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้อนุญาตให้นำไปใช้ก่อนวันถือปฏิบัติ

บทนำ 3 ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย ใช้แทนที่มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 4 เรื่อง สัญญาประกันภัย


เหตุผลในการออกมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้


บทนำ 4 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 4 เรื่อง สัญญาประกันภัย ที่ใช้ก่อนหน้านี้เป็นมาตรฐานชั่วคราวที่อนุญาตให้กิจการใช้วิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่หลากหลายสำหรับสัญญาประกันภัย ซึ่งสะท้อนถึงข้อกำหนดด้านการบัญชีของประเทศและความหลากหลายของข้อกำหนดเหล่านั้น ความแตกต่างของวิธีปฏิบัติทางการบัญชีของแต่ละประเทศและแต่ละผลิตภัณฑ์ทำให้นักลงทุนและนักวิเคราะห์ทำความเข้าใจและเปรียบเทียบผลประกอบการของผู้รับประกันภัยได้ยาก ผู้มีส่วนได้เสียส่วนใหญ่รวมถึงผู้รับประกันภัยมีความเห็นตรงกันว่าจำเป็นต้องมีมาตรฐานการบัญชีประกันภัยที่เป็นสากล ถึงแม้ว่าจะมีความเห็นที่หลากหลายว่าควรจะเป็นแบบใด ความเสี่ยงด้านการประกันภัยซึ่งมีระยะเวลายาวและซับซ้อน จึงยากที่จะสะท้อนในการวัดมูลค่าของสัญญาประกันภัย นอกจากนี้ สัญญาประกันภัยโดยทั่วไปไม่มีการซื้อขายในตลาด และอาจรวมองค์ประกอบของการลงทุนที่มีนัยสำคัญซึ่งทำให้เกิดความท้าทายที่เพิ่มขึ้นในการวัดมูลค่าบางวิธีปฏิบัติทางการบัญชีเดิมสำหรับสัญญาประกันภัยซึ่งอนุญาตภายใต้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 4 ไม่ได้สะท้อนอย่างเพียงพอถึงฐานะการเงินหรือผลการดำเนินงานการเงินที่แท้จริงของสัญญาประกันภัยเหล่านี้ เพื่อจัดการปัญหาเหล่านี้ คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (คณะกรรมการ) ได้จัดทำโครงการเพื่อให้งบการเงินของผู้รับประกันภัยเป็นประโยชน์มากขึ้นและวิธีปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับประกันภัยสอดคล้องกันในแต่ละประเทศ


โดยสรุปเหตุผลในการออกมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ IFRS17 เพื่อปรับปรุงประเด็นต่างๆ ให้ดีขึ้น ดังนี้



ลักษณะหลัก


บทนำ 5 ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย สะท้อนมุมมองของคณะกรรมการว่า สัญญาประกันภัยรวมลักษณะของทั้งเครื่องมือทางการเงินและสัญญาบริการ นอกจากนี้หลายสัญญาประกันภัยก่อให้เกิดกระแสเงินสดที่มีความผันผวนอย่างมีนัยสำคัญตลอดช่วงเวลายาวนาน เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับลักษณะเหล่านั้นคณะกรรมการได้พัฒนาวิธี ดังนี้

(ก) รวมการวัดมูลค่าที่เป็นปัจจุบันของกระแสเงินสดอนาคต กับการรับรู้กำไรตลอดระยะเวลาที่ให้บริการภายใต้สัญญา

(ข) แสดงผลประกอบการจากการให้บริการประกันภัย (รวมถึงการแสดงรายได้การประกันภัย) แยกจากรายได้หรือค่าใช้จ่ายทางการเงินจากการประกันภัย

(ค) กำหนดให้กิจการสามารถเลือกใช้นโยบายบัญชีเป็นรายพอร์ตโฟลิโอในการรับรู้รายได้หรือค่าใช้จ่ายทางการเงินจากการประกันภัยสำหรับรอบระยะเวลารายงานในกำไรหรือขาดทุน หรือรับรู้รายได้หรือค่าใช้จ่ายบางส่วนนั้นในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น


เนื้อหาบางส่วนจากการสัมมนาพิจารณ์ ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17

ขอบเขตของ TFRS17



หลักการที่สำคัญของ TFRS 17


หลักการที่สำคัญในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย คือให้กิจการ (อ้างอิง บทนำ 6)

(ก) ระบุว่าสัญญาประกันภัยเหล่านั้นเป็นสัญญาที่กิจการรับความเสี่ยงด้านการประกันภัยที่มีนัยสำคัญจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง (ผู้เอาประกันภัย) โดยตกลงจะชดเชยให้แก่ผู้เอาประกันภัยหากเหตุการณ์ในอนาคตอันไม่แน่นอนที่ระบุไว้ (เหตุการณ์ที่เอาประกันภัย) เกิดผลกระทบในทางลบต่อผู้เอาประกันภัย

(ข) แยกอนุพันธ์แฝง องค์ประกอบของการลงทุนแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด และภาระที่ต้องปฏิบัติที่แยกต่างหาก ที่ระบุไว้ จากสัญญาประกันภัย

(ค) แบ่งสัญญาออกเป็นกลุ่มที่จะรับรู้รายการและวัดมูลค่า

(ง) รับรู้และวัดมูลค่ากลุ่มของสัญญาประกันภัยด้วย

(1) มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดอนาคตที่ปรับด้วยความเสี่ยง (กระแสเงินสดจากการปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญา) ซึ่งรวมข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดที่สามารถหาได้เกี่ยวกับกระแสเงินสดจากการปฏิบัติครบถ้วนเพื่อทำให้เสร็จสิ้นตามสัญญาในทิศทางที่สอดคล้องกับข้อมูลที่สังเกตได้จากตลาดบวก (ถ้ามูลค่าเป็นหนี้สิน) หรือ หัก (ถ้ามูลค่าเป็นสินทรัพย์)

(2) จำนวนเงินที่แสดงกำไรที่ยังไม่รับรู้ในกลุ่มของสัญญา (กำไรจากการให้บริการตามสัญญา)

(จ) รับรู้กำไรจากกลุ่มของสัญญาประกันภัยตลอดรอบระยะเวลาที่กิจการให้ความคุ้มครองประกันภัยและเมื่อกิจการปลดเปลื้องซึ่งความเสี่ยง ถ้ากลุ่มของสัญญาเป็นหรือกลายเป็นสัญญาที่ทำให้เกิดการขาดทุน กิจการรับรู้ผลขาดทุนนั้นทันที

(ฉ) แสดงรายการแยกจากกันสำหรับรายได้การประกันภัย ค่าใช้จ่ายการบริการประกันภัย และรายได้หรือค่าใช้จ่ายทางการเงินจากการประกันภัย

(ช) เปิดเผยข้อมูลที่ทำให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินผลกระทบว่าสัญญาที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย ที่มีต่อฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานทางการเงิน และกระแสเงินสดของกิจการ การเปิดเผยดังกล่าวนี้กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเชิงคุณภาพและปริมาณเกี่ยวกับ

(1) จำนวนเงินที่รับรู้ในงบการเงินจากสัญญาประกันภัย

(2) ดุลยพินิจที่สำคัญและการเปลี่ยนแปลงในดุลยพินิจเหล่านั้นที่ใช้ เมื่อนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้มาถือปฏิบัติ

(3) ลักษณะและขอบเขตของความเสี่ยงจากสัญญาภายใต้ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้


ภาพรวมของ IFRS17


เนื้อหาบางส่วนจากการสัมมนาพิจารณ์ ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17

2. การแสดงรายการในงบฐานะการเงิน


78 กิจการต้องแยกแสดงรายการในงบฐานะการเงินสำหรับมูลค่าตามบัญชีของพอร์ตโฟลิโอ เป็นรายการดังต่อไปนี้

78.1 สัญญาประกันภัยที่ออกที่เป็นสินทรัพย์

78.2 สัญญาประกันภัยออกที่เป็นหนี้สิน

78.3 สัญญาประกันภัยต่อที่ถือไว้ที่เป็นสินทรัพย์

78.4 สัญญาประกันภัยต่อที่ถือไว้ที่เป็นหนี้สิน


ซึ่งจะปรากฏอยู่ในงบฐานะการเงินตามตารางด้านล่าง


เนื้อหาบางส่วนจากการสัมมนาพิจารณ์ ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17

เนื้อหาบางส่วนจากการสัมมนาพิจารณ์ ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17

เนื้อหาบางส่วนจากการสัมมนาพิจารณ์ ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17

3. การถือปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลงสำหรับกำไรจากการให้บริการตามสัญญา


กำไรจากการให้บริการตามสัญญา ณ วันถือปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลง (transition date) ตามร่าง TFRS 17 มี 3วิธี โดยมีเงื่อนไขตามที่จะกล่าวถัดไป

a. วิธีการปรับปรุงย้อนหลัง (FRA)

b. วิธีปรับย้อนหลังแบบดัดแปลง (MRA)

c. วิธีมูลค่ายุติธรรม (FVA)


คำนิยาม “วันถือปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลง (transition date)” ภายใต้ TFRS 17

ย่อหน้า ค20 “เพื่อถือปฏิบัติตามวิธีมูลค่ายุติธรรม กิจการต้องกำหนดกำไรจากการให้บริการตามสัญญา (CSM) … ณ วันถือปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลง (transition date)…”

ย่อหน้า ค2 “… วันถือปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลง (transition date) คือวันเริ่มต้นของรอบระยะเวลารายงานประจำปีก่อนรอบระยะเวลารายงานที่นำมาตรฐานมาปฏิบัติใช้ครั้งแรก”


เนื้อหาบางส่วนจากการสัมมนาพิจารณ์ ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17

a. Transition CSM

วิธีปรับย้อนหลัง (retrospective approach


เนื้อหาบางส่วนจากการสัมมนาพิจารณ์ ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17

เนื้อหาบางส่วนจากการสัมมนาพิจารณ์ ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17

b. วิธีปรับย้อนหลังแบบดัดแปลง (MRA) Permitted modifications

MRA ให้ผลลัพธ์ใกล้เคียง FRA ด้วยรายการ permitted modifications ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน


เนื้อหาบางส่วนจากการสัมมนาพิจารณ์ ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17

c. Transition CSM วิธีมูลค่ายุติธรรม (FVA)


Transition CSM = Fair value of liability – IFRS17 Fulfilment Cash Flows Fair Value of Liability = PV of Outgo – PV of Income + Risk margin

เนื้อหาบางส่วนจากการสัมมนาพิจารณ์ ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17

เนื้อหาบางส่วนจากการสัมมนาพิจารณ์ ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17

สุดท้ายนี้ เราอยากขอขอบคุณ สภาวิชาชีพบัญชีสำหรับการสัมมนาดีๆ แบบนี้รวมทั้ง ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารและการสัมมนา ได้บนเว็บไซด์สภาวิชาชีพบัญชี หรือสามารถกด https://www.tfac.or.th/Home/Main และสามารถดาวน์โหลดสไลด์ประกอบการนำเสนอได้ในลิงก์นี้ https://www.tfac.or.th/upload/9414/kh2XNVuL8D.pdf

ดู 1,023 ครั้ง

Comments


แองเคอ 1
แองเคอ 2
แองเคอ 3
bottom of page